นักธรณีวิทยาแบ่งเวลานับตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบันออกเป็นคาบเวลาจากใหญ่ไปเล็กได้แก่ บรมยุค (Eon), มหายุค (Era), ยุค (Period), สมัย (Epoch) โดยทั้งหมดมี 3 บรมยุค (Eon) โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี นักธรณีวิทยาได้แบ่งเวลาของโลกในอดีตออกเป็น 3 มหายุค คือ อาร์เคียน (Archean แปลว่า ยุคดึกดำบรรพ์), โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic แปลว่า สิ่งมีชีวิตยุคแรก) และ ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic aeon หมายถึง สิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน) ได้แก่
- อาร์คีโอโซอิค (Archaeozoic) เป็นบรมยุคแรกของโลก
- โพรเทอโรโซอิค (Proterozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า สิ่งมีชิวิตเพิ่งอุบัติขึ้น
- ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า มีสิ่งมีชีวิตปรากฏให้เห็น
มหายุคอาร์เคียน (Archaean aeon)
นับตั้งแต่ 4.6 – 2.5 พันล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่โลกเริ่มก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่นก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นับตั้งแต่ 4.6 – 2.5 พันล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่โลกเริ่มก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่นก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- 4,200 ล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง ไอน้ำควบแน่นทำให้เกิดฝน
- 4,000 ล้านปีก่อน เกิดโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต (RNA)
- 3,800 ล้านปีก่อน หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ในปัจจุบัน
- 3,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ชนิดไม่มีนิวเคลียส (Prokaryotic cell)
- 3,400 ล้านปีก่อน น้ำฝนตกขังบนแอ่งที่ต่ำกลายเป็นทะเล เกิดแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Cyanobacteria) และสโตรมาโทไลต์ (Stromatolites) ทำให้บรรยากาศเริ่มมีก๊าซออกซิเจน
- 2,600 ล้านปี มีปริมาณน้ำในมหาสมุทรร้อยละ 90 เทียบกับปัจจุบัน
มหายุค โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic aeon)
นับตั้งแต่ 2.5 – 0.5 พันล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง เริ่มมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นสลับกันไปทุกๆ หลายร้อยล้านปี การตกตะกอนของเปลือกทวีปที่ผุพัง ทำให้เกิดทะเลน้ำตื้น สิ่งมีชีวิตทั้งเซลล์เดียว และหลายเซลล์ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น
นับตั้งแต่ 2.5 – 0.5 พันล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง เริ่มมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นสลับกันไปทุกๆ หลายร้อยล้านปี การตกตะกอนของเปลือกทวีปที่ผุพัง ทำให้เกิดทะเลน้ำตื้น สิ่งมีชีวิตทั้งเซลล์เดียว และหลายเซลล์ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น
- 2,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ชนิดมีนิวเคลียส (Eukayote cells)
- 2,000 ล้านปีก่อน ก๊าซออกซิเจนทวีปริมาณ เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดชั้นโอโซน
- 1,800 ล้านปีก่อน เกิดการแบ่งเพศของสิ่งมีชีวิต
- 1,400 ล้านปีก่อน เกิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
- 1,000 ล้านปีก่อน ปริมาณก๊าซออกซิเจนเท่ากับร้อยละ 18 ของปัจจุบัน
- 600 ล้านปีก่อน เกิดสังคมของสิ่งมีชีวิต
มหายุค ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic aeon)
อยู่ในช่วง 500 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่จำนวนมากทั้งในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน มหายุคฟาเนอโรโซอิกถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
อยู่ในช่วง 500 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่จำนวนมากทั้งในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน มหายุคฟาเนอโรโซอิกถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
- ยุคพาเลโอโซอิก (Palaeozoic era) อยู่ในช่วง 545 – 245 ล้านปีก่อน เป็นยุคเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตทั้งในมหาสมุทร และบนบก
- ยุคเมโสโซอิก (Mesozoic era) อยู่ในช่วง 245 – 65 ล้านปีก่อน เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานจำพวก ไดโนเสาร์
- ยุคเซโนโซอิก (Cenozoic era) อยู่ในช่วง 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้ยุคเซโนโซอิกได้ถูกแบ่งย่อยอีกเป็นยุคย่อยๆ อีก 2 ยุค คือ
o เทอร์เชียรี (Tertiary) อยู่ในช่วง 65 – 1.8 ล้านปีก่อน เป็นยุคเริ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
o ควอเทอนารี (Quaternary) คือช่วง 1.8 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคสมัยของสิ่งมีชีวิต
o ควอเทอนารี (Quaternary) คือช่วง 1.8 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคสมัยของสิ่งมีชีวิต
ในการศึกษาฟอสซิล (ซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์) นักวิทยาศาสตร์กำหนดคาบเวลาในมหายุคอาร์เคียนและโปรเทอโรโซอิกว่า “พรีแคมเบรียน” (Precambrian) ถือเป็นยุคที่ยังไม่มีฟอสซิลปรากฏชัดเจน และแบ่งมหายุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 11 คาบ (Period) โดยถือตามการเปลี่ยนแปลงประเภทของฟอสซิล ดังนี้
- พรีแคมเบรียน (Precambrian) เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาจนถึง 545 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่ปรากฏฟอสซิลให้เห็นน้อยมาก หินอัคนีที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ ล้านปี หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดพบที่ออสเตรเลียมีอายุ 3.8 พันล้านปี ฟอสซิลที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดคือ แบคทีเรียนโบราณอายุ 3.4 พันล้านปี
- แคมเบรียน (Cambrian) เป็นคาบแรกของยุคพาเลโอโซอิก ในช่วง 545 – 490 ล้านปีก่อน เกิดทวีปใหญ่รวมตัวกันทางขั้วโลกใต้ เป็นยุคของแบคทีเรียสีเขียวและสัตว์มีกระดอง เป็นช่วงเวลาที่สัตว์ยังอาศัยอยู่ในทะเล บนพื้นแผ่นดินยังว่างเปล่า สัตว์มีกระดอง ได้แก่ ไทรโลไบต์ หอยสองฝา ฟองน้ำ และหอยทาก พืชส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายทะเล เป็นต้น ไทรโลไบต์สูญพันธุ์ในช่วงปลายยุคนี้
- ออร์โดวิเชียน (Ordovician) อยู่ในช่วง 490 – 443 ล้านปีก่อน ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สโตรมาโทไลต์ลดน้อยลง เกิดประการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก สัตว์ทะเลแพร่พันธุ์ขึ้นสู่บริเวณน้ำตื้น เกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ปลาไม่มีขากรรไกร เกิดสปอร์ของพืชบกขึ้นครั้งแรก
- ไซลูเรียน (Silurian) อยู่ในช่วง 443 – 417 ล้านปีก่อน เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal) เกิดปลามีขากรรไกร และสัตว์บก ขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์
- ดีโวเนียน (Devonian) อยู่ในช่วง 417 – 354 ล้านปีก่อน อเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ สก็อตแลนด์ รวมตัวกับยุโรป ถือเป็นยุคของปลา ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และมีป่าเกิดขึ้น
- คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน บนบกเต็มไปด้วยป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน
- เพอร์เมียน (Permian) เป็นคาบสุดท้ายของยุคพาเลโอโซอิก ในช่วง 295 – 248 ล้านปีก่อน เปลือกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ แพงเจีย ในทะเลเกิดแนวประการังและไบโอซัวร์ บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม ในปลายคาบเพอร์เมียนได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ (Mass extinction) สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดยุคพาเลโอโซอิก
- ไทรแอสสิก (Triassic) เป็นคาบแรกของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 248 – 205 ล้านปีก่อน เกิดสัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ต้นตระกูลไดโนเสาร์ ป่าเต็มไปด้วยสนและเฟิร์น
- จูแรสสิก (Jurassic) เป็นคาบกลางของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 205 – 144 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก เริ่มมีสัตว์ปีกจำพวกนก ไม้ในป่ายังเป็นพืชไร้ดอก ในทะเลมีหอยแอมโมไนต์
- ครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นคาบสุดท้ายของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 144 – 65 ล้านปีก่อน มีงู นก และพืชมีดอก ไดโนเสาร์วิวัฒนาการให้มี นอ ครีบหลัง ผิวหนังหนาสำหรับป้องกันตัว ในปลายคาบครีเทเชียสได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดสิ้น สิ่งมีชีวิตอื่นสูญพันธุ์ไปประมาณร้อยละ 70 ของสปีชีส์
- พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นคาบแรกของยุคเซโนโซอิก ในช่วง 65 – 24 ล้านปี ทวีปอเมริกาเคลื่อนเข้าหากัน อินเดียเคลื่อนที่เข้าหาเอเซีย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ
- นีโอจีน (Neogene) อยู่ในช่วง 24 – 1.8 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus) พลาลีโอจีนและนีโอจีนจัดว่าอยู่ในยุคย่อยชื่อ เทอเชียรี (Tertiary) ของยุคเซโนโซอิก หลังจากนั้นจะเป็นยุคย่อยชื่อ ควอเทอนารี (Quaternary) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สมัย (epoch) คือ
- ไพลสโตซีน (Pleistocene) อยู่ในช่วง 1.8 ล้านปี – 1 หมื่นปี เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอล้าสกาเชื่อมต่อกัน เริ่มมีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) เมื่อประมาณสองแสนปีที่แล้ว
- โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน มนุษย์รู้จัการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมด ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป
แม้ว่าเซลล์โพรคาริโอตจะเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์แรกของโลก ซึ่งอุบัติขึ้นในบรมยุคอาร์คีโอโซอิคเมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีมาแล้ว แต่สายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ของมนุษย์เพิ่งอุบัติขึ้นเมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมาในบรมยุคฟาเนอโรโซอิค (Phanerozoic) มหายุคเซโนโซอิก (Cenozoic) ยุคควอเทอนารี (Quaternary) สมัยโฮโลซีน (Holocene)
ที่มา : https://geonoi.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น