วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ธรณีประวัติ

          Image result for ธรณีประวัติ 
        
       
     ธรณีประวัติ  คือ  ประวัติศาสตร์ทางธรณีของโลกที่จะบอกเล่าความเป็นมาและสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
        นักธรณีวิทยาแบ่งช่วงเวลาของโลก นับตั้งแต่อุบัติขึ้นมาจนถึงปัจจุบันโดยใช้มาตราธรณีกาล (Geological time scale)  ซึ่งพิจารณาจากชนิดของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ (Fossil) ซึ่งฝังตัวอยู่ในชั้นหิน โดยจำแนกคาบเวลาออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุค สมัย และพบว่ามนุษย์เป็นสายพันธุ์ที่ใหม่มากเมื่อเทียบกับอายุของโลก ซึ่งหากเปรียบเทียบระยะเวลาที่โลกกำเนิดขึ้นมา 4,600 ล้านปี กับระยะทางของถนนรอบประเทศไทยประมาณ 4,600 กิโลเมตร  จะพบว่าระยะเวลาที่สายพันธุ์โฮโมเซเปียนอุบัติขึ้นมา 10,000 ปี เทียบได้เท่ากับระยะทางเพียง 1 มิลลิเมตรสุดท้ายเท่านั้นเอง


ที่มา : http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geologic-time

มาตราทางธรณีกาล (Geological time scale)

         


นักธรณีวิทยาแบ่งเวลานับตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบันออกเป็นคาบเวลาจากใหญ่ไปเล็กได้แก่ บรมยุค (Eon), มหายุค (Era), ยุค (Period), สมัย (Epoch) โดยทั้งหมดมี 3 บรมยุค (Eon) โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี นักธรณีวิทยาได้แบ่งเวลาของโลกในอดีตออกเป็น 3 มหายุค คือ อาร์เคียน (Archean แปลว่า ยุคดึกดำบรรพ์), โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic แปลว่า สิ่งมีชีวิตยุคแรก) และ ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic aeon หมายถึง สิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน)  ได้แก่
eonภาพมหายุคทั้งสาม

  1. อาร์คีโอโซอิค (Archaeozoic) เป็นบรมยุคแรกของโลก
  2. โพรเทอโรโซอิค (Proterozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า สิ่งมีชิวิตเพิ่งอุบัติขึ้น
  3. ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า มีสิ่งมีชีวิตปรากฏให้เห็น
มหายุคอาร์เคียน (Archaean aeon)
นับตั้งแต่ 4.6 – 2.5 พันล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่โลกเริ่มก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่นก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • 4,200 ล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง ไอน้ำควบแน่นทำให้เกิดฝน
  • 4,000 ล้านปีก่อน เกิดโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต (RNA)
  • 3,800 ล้านปีก่อน หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ในปัจจุบัน
  • 3,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ชนิดไม่มีนิวเคลียส (Prokaryotic cell)
  • 3,400 ล้านปีก่อน น้ำฝนตกขังบนแอ่งที่ต่ำกลายเป็นทะเล เกิดแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Cyanobacteria) และสโตรมาโทไลต์ (Stromatolites) ทำให้บรรยากาศเริ่มมีก๊าซออกซิเจน
  • 2,600 ล้านปี มีปริมาณน้ำในมหาสมุทรร้อยละ 90 เทียบกับปัจจุบัน
stromatolitesภาพสโตรมาโทไลต์ ตะกอนซึ่งเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียสีเขียว
มหายุค โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic aeon)
นับตั้งแต่ 2.5 – 0.5 พันล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง เริ่มมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นสลับกันไปทุกๆ หลายร้อยล้านปี การตกตะกอนของเปลือกทวีปที่ผุพัง ทำให้เกิดทะเลน้ำตื้น สิ่งมีชีวิตทั้งเซลล์เดียว และหลายเซลล์ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • 2,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ชนิดมีนิวเคลียส (Eukayote cells)
  • 2,000 ล้านปีก่อน ก๊าซออกซิเจนทวีปริมาณ เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดชั้นโอโซน
  • 1,800 ล้านปีก่อน เกิดการแบ่งเพศของสิ่งมีชีวิต
  • 1,400 ล้านปีก่อน เกิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
  • 1,000 ล้านปีก่อน ปริมาณก๊าซออกซิเจนเท่ากับร้อยละ 18 ของปัจจุบัน
  • 600 ล้านปีก่อน เกิดสังคมของสิ่งมีชีวิต
มหายุค ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic aeon)
อยู่ในช่วง 500 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่จำนวนมากทั้งในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน มหายุคฟาเนอโรโซอิกถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
  • ยุคพาเลโอโซอิก (Palaeozoic era) อยู่ในช่วง 545 – 245 ล้านปีก่อน เป็นยุคเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตทั้งในมหาสมุทร และบนบก
  • ยุคเมโสโซอิก (Mesozoic era) อยู่ในช่วง 245 – 65 ล้านปีก่อน เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานจำพวก ไดโนเสาร์
  • ยุคเซโนโซอิก (Cenozoic era) อยู่ในช่วง 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้ยุคเซโนโซอิกได้ถูกแบ่งย่อยอีกเป็นยุคย่อยๆ อีก 2 ยุค คือ
oxygen
ภาพการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในบรรยากาศ
o เทอร์เชียรี (Tertiary) อยู่ในช่วง 65 – 1.8 ล้านปีก่อน เป็นยุคเริ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
o ควอเทอนารี (Quaternary) คือช่วง 1.8 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคสมัยของสิ่งมีชีวิต
ในการศึกษาฟอสซิล (ซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์) นักวิทยาศาสตร์กำหนดคาบเวลาในมหายุคอาร์เคียนและโปรเทอโรโซอิกว่า “พรีแคมเบรียน” (Precambrian) ถือเป็นยุคที่ยังไม่มีฟอสซิลปรากฏชัดเจน และแบ่งมหายุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 11 คาบ (Period) โดยถือตามการเปลี่ยนแปลงประเภทของฟอสซิล ดังนี้
  1. พรีแคมเบรียน (Precambrian) เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาจนถึง 545 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่ปรากฏฟอสซิลให้เห็นน้อยมาก หินอัคนีที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ ล้านปี หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดพบที่ออสเตรเลียมีอายุ 3.8 พันล้านปี ฟอสซิลที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดคือ แบคทีเรียนโบราณอายุ 3.4 พันล้านปี
  2. แคมเบรียน (Cambrian) เป็นคาบแรกของยุคพาเลโอโซอิก ในช่วง 545 – 490 ล้านปีก่อน เกิดทวีปใหญ่รวมตัวกันทางขั้วโลกใต้ เป็นยุคของแบคทีเรียสีเขียวและสัตว์มีกระดอง เป็นช่วงเวลาที่สัตว์ยังอาศัยอยู่ในทะเล บนพื้นแผ่นดินยังว่างเปล่า สัตว์มีกระดอง ได้แก่ ไทรโลไบต์ หอยสองฝา ฟองน้ำ และหอยทาก พืชส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายทะเล เป็นต้น ไทรโลไบต์สูญพันธุ์ในช่วงปลายยุคนี้
  3. ออร์โดวิเชียน (Ordovician) อยู่ในช่วง 490 – 443 ล้านปีก่อน ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สโตรมาโทไลต์ลดน้อยลง เกิดประการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก สัตว์ทะเลแพร่พันธุ์ขึ้นสู่บริเวณน้ำตื้น เกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ปลาไม่มีขากรรไกร เกิดสปอร์ของพืชบกขึ้นครั้งแรก
  4. ไซลูเรียน (Silurian) อยู่ในช่วง 443 – 417 ล้านปีก่อน เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal) เกิดปลามีขากรรไกร และสัตว์บก ขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์
  5. ดีโวเนียน (Devonian) อยู่ในช่วง 417 – 354 ล้านปีก่อน อเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ สก็อตแลนด์ รวมตัวกับยุโรป ถือเป็นยุคของปลา ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และมีป่าเกิดขึ้น
  6. คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน บนบกเต็มไปด้วยป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน
  7. เพอร์เมียน (Permian) เป็นคาบสุดท้ายของยุคพาเลโอโซอิก ในช่วง 295 – 248 ล้านปีก่อน เปลือกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ แพงเจีย ในทะเลเกิดแนวประการังและไบโอซัวร์ บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม ในปลายคาบเพอร์เมียนได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ (Mass extinction) สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดยุคพาเลโอโซอิก
  8. ไทรแอสสิก (Triassic) เป็นคาบแรกของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 248 – 205 ล้านปีก่อน เกิดสัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ต้นตระกูลไดโนเสาร์ ป่าเต็มไปด้วยสนและเฟิร์น
  9. จูแรสสิก (Jurassic) เป็นคาบกลางของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 205 – 144 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก เริ่มมีสัตว์ปีกจำพวกนก ไม้ในป่ายังเป็นพืชไร้ดอก ในทะเลมีหอยแอมโมไนต์
  10. ครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นคาบสุดท้ายของยุคเมโสโซอิก ในช่วง 144 – 65 ล้านปีก่อน มีงู นก และพืชมีดอก ไดโนเสาร์วิวัฒนาการให้มี นอ ครีบหลัง ผิวหนังหนาสำหรับป้องกันตัว ในปลายคาบครีเทเชียสได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดสิ้น สิ่งมีชีวิตอื่นสูญพันธุ์ไปประมาณร้อยละ 70 ของสปีชีส์
  11. พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นคาบแรกของยุคเซโนโซอิก ในช่วง 65 – 24 ล้านปี ทวีปอเมริกาเคลื่อนเข้าหากัน อินเดียเคลื่อนที่เข้าหาเอเซีย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ
  12. นีโอจีน (Neogene) อยู่ในช่วง 24 – 1.8 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus) พลาลีโอจีนและนีโอจีนจัดว่าอยู่ในยุคย่อยชื่อ เทอเชียรี (Tertiary) ของยุคเซโนโซอิก หลังจากนั้นจะเป็นยุคย่อยชื่อ ควอเทอนารี (Quaternary) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สมัย (epoch) คือ
  13. ไพลสโตซีน (Pleistocene) อยู่ในช่วง 1.8 ล้านปี – 1 หมื่นปี เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอล้าสกาเชื่อมต่อกัน เริ่มมีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) เมื่อประมาณสองแสนปีที่แล้ว
  14. โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน มนุษย์รู้จัการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมด ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป
แม้ว่าเซลล์โพรคาริโอตจะเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์แรกของโลก ซึ่งอุบัติขึ้นในบรมยุคอาร์คีโอโซอิคเมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีมาแล้ว แต่สายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ของมนุษย์เพิ่งอุบัติขึ้นเมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมาในบรมยุคฟาเนอโรโซอิค (Phanerozoic) มหายุคเซโนโซอิก (Cenozoic) ยุคควอเทอนารี (Quaternary) สมัยโฮโลซีน (Holocene)
ที่มา : https://geonoi.wordpress.com

การหาอายุเปรียบเทียบ (Realative age)
























เวลาที่ใช้กำหนดมาตราธรณีกาล (Geological time scale) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เวลาสัมบูรณ์ (absolute time) 
            หาได้จากอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี หรือธาตุไอโซโทปซึ่งมีอะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสต่างกัน ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่มีเสถียรภาพ จะสลายตัวและปล่อยอนุภาคออกมา เวลาที่ใช้ไปในการทำให้อะตอมของธาตุที่มีอยู่เดิมสลายไปครึ่งหนึ่งเรียกว่า “ครึ่งชีวิต” (half life) โดยธาตุสุดท้ายที่เหลือจากการสลายตัวคือธาตุตะกั่ว เนื่องจากทราบอัตราการสลายตัวของธาตุที่แน่นอนในแต่ละธาตุ นักวิทยาศาสตร์จึงนำมาใช้คำนวณหาอายุสัมบูรณ์ของหินที่มีธาตุกัมมันตรังสี อายุที่ได้ถือว่าเป็นเวลาสัมบูรณ์ ธาตุที่นิยมใช้ได้แก่ ยูเรเนียม ทอเรียม โพแทสเซียม และคาร์บอน ซึ่งมักพบในแร่และหินมากน้อยต่างกัน จากงานวิจัยทำให้ทราบค่าเฉลี่ยของธาตุไอโซโทปเหล่านี้ว่าปกติมีปริมาณเท่าใด
คุณสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีที่เหมาะในการใช้หาอายุจะต้อง
1. มีอัตราการสลายตัวที่สม่ำเสมอ
2. มีครึ่งชีวิตที่นานพอสมควร
3. ควรเป็นธาตุที่พบทั่วไปในวัสดุที่เป็นเปลือกโลก
ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมใช้หาอายุหิน มียูเรเนียม 238 ซึ่งมีครึ่งชีวิตถึง 4.51พันล้านปี ธาตุสุดท้ายที่ได้จากการสลายตัวคือตะกั่ว โพแทสเซียม 40 มีครึ่งชีวิต 1.31 พันล้านปี และพบมากในหินอัคนี
กรณีต้องการหาอายุซากพืช-สัตว์ นิยมใช้ คาร์บอน-14 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 5568 ปี ส่วนใหญ่ใช้หาอายุวัตถุโบราณ ซึ่งมีอายุสูงสุดประมาณ 40,000 ปี (ไม่เกิน 100,000 ปี) คาร์บอน-14 ที่พบในธรรมชาติเกิดจากรังสีคอสมิกชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจน หลัง จากนั้นจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และเข้าสู่วงจรคาร์บอน ผู้ค้นพบวิธีหาอายุแบบนี้คือ ดร.ดับเบิลยู. เอฟ.ลิบบี
eart_56Home_clip_image001
นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น
1.1 เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ (thermoluminescence) เป็นกระบวนการที่แร่เมื่อถูกความร้อนที่สูงกว่า 400 องศาเซลเซียส จะเปล่งแสงออกมา ซึ่งเป็นสัดส่วนกับพลังงานที่อยู่ในแร่นั้น ๆ มักใช้กับแร่ควอตซ์ และเฟลด์สปาร์ เหมาะสำหรับการหาอายุในยุคควอเทอร์นารี
Home_clip_image002
1.2 ภาวะแม่เหล็กบรรพกาล (palaeomagnetism) ความเป็นแม่เหล็กอย่างอ่อนของหิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่ตะกอนสะสมตัวหรือขณะหินหนืดกำลังแข็งตัว ในขณะที่เกิดเกิดสารแม่เหล็กในเนื้อหินจะวางตัวตามทิศทางสนามแม่โลกโลกในขณะ นั้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงถูกนำไปใช้หาทิศของขั้วแม่เหล็กโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ ของหิน และเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร
Home_clip_image003
1.3 การนับวงปีต้นไม้ (Tree ring) เป็นที่ทราบว่าวงปีในต้นไม้สามารถบ่งบอกอัตราการเติบโตของต้นไม้ใน แต่ละปี รวมทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศในแต่ละปีอีกด้วย วงปีคู่หนึ่งประกอบด้วยวงสีเข้มและวงสีอ่อน 1 คู่
Home_clip_image004

2. เวลาเปรียบเทียบ (relative time) 
ด้จากการหาความสัมพันธ์และการเปรียบเทียบที่เราใช้กันในชีวิต ประจำวัน ซึ่งทางธรณีวิทยาคิดบนพื้นฐานที่ว่า
2.1 ชั้นหินที่อยู่ล่างจะเกิดก่อนชั้นหินที่วางทับอยู่ เรียกกฎนี้ว่า “กฎการลำดับชั้น” (Law of Super- position) ผู้ตั้งกฎนี้คือ นิโคลัส สตีโน (Nicolaus Steno) และ “การที่หินอัคนีที่แทรกตัดเข้าไปในหินอีกชนิด หินอัคนีที่แทรกไปนี้จะมีอายุอ่อนกว่าหินที่ถูกตัด” เรียกกฎนี้ว่า “กฎความสัมพันธ์ของการตัด” (Law of Cross-cutting Relationship)
Home_clip_image005
นักธรณีวิทยาแบ่งช่วงเวลาของโลก นับตั้งแต่อุบัติขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้มาตราธรณีกาล (Geological time scale) ซึ่งพิจารณาจากชนิดของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ (Fossil) ซึ่งฝังตัวอยู่ในชั้นหิน โดยจำแนกคาบเวลาออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุค สมัย และพบว่ามนุษย์เป็นสายพันธุ์ที่ใหม่มากเมื่อเทียบกับอายุของโลก ซึ่งหากเปรียบเทียบระยะเวลาที่โลกกำเนิดขึ้นมา 4,600 ล้านปี กับระยะทางของถนนรอบประเทศไทยประมาณ 4,600 กิโลเมตร จะพบว่าระยะเวลาที่สายพันธุ์โฮโมเซเปียนอุบัติขึ้นมา 10,000 ปี เทียบได้เท่ากับระยะทางเพียง 1 มิลลิเมตรสุดท้ายเท่านั้นเอง
2.2 การเปรียบเทียบชั้นหิน (Correlation of Sedimentary Rocks) การแสดงความสัมพันธ์ของลักษณะ ตำแหน่ง และการลำดับชั้นหินของธรณีวิทยาในที่ต่าง ๆ กัน ทำได้ 2 แบบ คือ
2.2.1 การเปรียบเทียบชุดหินโดยอาศัยลักษณะทางกายภาพ เป็นการเปรียบเทียบตรงไปตรงมา โดยอาศัยลักษณะทางกายภาพของหินในแต่ละลำดับชั้นที่ต้องการเปรียบเทียบ ดังรูป

Home_clip_image006
2.2.2 การเปรียบเทียบโดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์ ทำได้โดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์ในแต่ละชั้นหินในลำดับชุดหินที่ต้องการเปรียบ เทียบ โดยมีสมมุติฐานว่าซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีที่อยู่ในชั้นหินบริเวณหนึ่ง สามารถเปรียบเทียบได้กับซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีที่อยู่ในชั้นหินอีกบริเวณหนึ่ง ถ้าเป็นซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีชนิดเดียวกัน ชั้นหินทั้งสองบริเวณควรมีอายุการสะสมตัวในช่วงอายุเดียวกัน
Home_clip_image007
แท่งแห่งธรณีวิทยา(The geologic column) นักธรณีวิทยาพบว่าช่วงต่อเวลาแต่ละช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า Break หรือ Gap จึงใช้เป็นขอบเขต (boundaries) ระหว่างชั้นหินที่มีอายุต่างกัน
Home_clip_image010

ที่มา : https://geonoi.wordpress.com
Hello
I'm Natcha Rungloy  no 40
Don't forget me na ka..